วันสิ้นปี คือ วันสุดท้ายของปีซึ่งตรงกับวันที่ 31 ธันวาคม ตามปฏิทินเกรกอเรียน ทางการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ คืนวันนี้จะมีการจัดงานนับถอยหลังเพื่อเข้าสู่วันปีใหม่ในเวลาเที่ยงคืนตามเมืองใหญ่ทั่วโลกซึ่งเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน โดยมักมีการจุดพลุเฉลิมฉลอง
วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559
5 ธันวาคม
5 ธันวาคม เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพในหลวง รัชกาลที่9 และเป็นวันดินโลก(World Soil Day)
ที่ประชุมครม. กำหนดให้วันที่ 5 ธ.ค. ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 9
พ.อ.หญิงทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเรื่องวันสำคัญ กำหนดให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยจะมีหนังสืออย่างเป็นทางการออกมาอีกครั้ง ในวันที่ 5 ธันวาคม ยังคงมีกิจกรรมสำคัญของสำนักพระราชวัง มีการบำเพ็ญพระราชกุศลและพระราชทานสมณศักดิ์ของพระภิกษุสงฆ์
-----=====**=====-----
ที่มาของพระนาม "ภูมิพลอดุลยเดช"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมานต์เออเบิร์น (Mount Auburn) ซึ่งขณะนั้นใช้ชื่อว่า โรงพยาบาลเคมบริดจ์ (Cambridge Hospital) ตั้งอยู่ในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อเวลา ๐๘.๔๕ น. ของวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ ตรงกับปีเถาะ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ทรงเล่าถึง การตั้งพระนามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ในหนังสือ "เจ้านายเล็ก ๆ ยุวกษัตริย์" ว่า "หลังจากที่พระโอรสประสูติได้ไม่ถึง ๓ ชั่วโมง ทูลหม่อมฯ"
ทรงรีบส่งโทรเลขถวายสมเด็จพระพันวัสสาฯ ว่า "ลูกชายเกิดเช้าวันนี้ สบายดีทั้งสอง ขอพระราชทานนามทางโทรเลขด้วย"
สมเด็จพระศรีสวรินทรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จฯ ไปเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามว่า "ภูมิพลอดุลเดช" (โปรดสังเกตว่า สะกดแบบไม่มี "ย")
หลังจากนั้นสมเด็จพระพันวัสสาฯ จึงมีลายพระหัตถ์ ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ถึงหม่อมเจ้าดำรัสดำรงค์ อดีตอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน ซึ่งทรงย้่ายกลับมากรุงเทพฯ แล้ว เพื่อทรงแจ้งเรื่องพระนามที่พระราชทาน โดยทรงแนบลายพระราชหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไปให้ด้วย และทรงขอให้ส่งโทรเลขตอบกลับไป
"โทรเลขภาษาอังกฤษที่หม่อมเจ้าดำรัศฯ ทรงส่งไปคือ "Your son's name is Bhumibala Aduladeja" แม่บอกว่า เมื่อได้รับโทรเลขฉบับนี้แล้ว ไม่ทราบว่า ลูกชื่ออะไรกันแน่ในภาษาไทย คิดว่าชื่อ "ภูมิบาล"
ด้วยเหตุนี้เองจึงทรงสะกดพระนามของพระโอรสในสูติบัตรว่า Bhumibal Aduldej Songkla หรืออ่านเป็นภาษาไทยตามที่ทรงเข้าใจในขณะนั้นได้ว่า "ภูมิบาลอดุลเดช สงขลา" ส่วนพระอิสริยยศเมื่อเสด็จพระราชสมภพ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
สำหรับคำว่า "อดุลเดช" นั้นเป็นการสะกดเหมือนกับพระนามของพระบิดาซึ่งสะกดแบบไม่มี "ย" มาแต่ต้น คือ มหิดลอดุลเดชฯ แต่ต่อมามีการเขียนแบบ "อดุลยเดช" ด้วย ในที่สุดจึงนิยมใช้แบบ "อดุลยเดช" ทั้งสองพระองค์
นอกจากนี้จะสังเกตได้ว่า พระนามของสมเด็จพระเชษฐภคินี สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับการตั้งให้มีความคล้องจองกัน คือ กัลยาณิวัฒนา อานันทมหิดล ภูมิพลอดุลเดช จะต่างกันตรงที่ ผู้พระราชทานพระนามสมเด็จพระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เคยมีรับสั่งกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงความหมายของพระนาม "ภูมิพล" ไว้ว่า "อันที่จริงเธอก็ชื่อภูมิพล ที่แปลว่า กำลังของแผ่นดิน แม่อยากเธออยู่กับดิน"
ต่อมาภายหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีพระราชปรารภถึงสิ่งที่สมเด็จพระบรมราชชนนนีเคยรับสั่งว่า "เมื่อฟังคำพูดนี้แล้วก็กลับมาคิด ซึ่งแม่ก็คงจะสอนเรา และมีจุดมุ่งหมายว่า อยากให้เราติดดินและอยากให้ทำงานให้ทำงานแก่ประชาชน"
....จากนิตยสาร "สารคดี" ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๗๔ เดือนธันวาคม ๒๕๕๐ หน้า ๘๐
องค์การสหประชาชาติ เทิดพระเกียรติ กำหนดให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันดินโลก” (World Soil Day)
ยิ่งกว่านั้น ยังประกาศให้ ปี 2558 เป็น “ปีดินสากล” หรือ International Year of Soils
– การประชุมสภาโลกแห่งปฐพีวิทยา (World Congress of Soil Science) ครั้งที่ 17 ที่กรุงเทพฯ ในเดือนสิงหาคมปี 2545 มีการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ทำให้สมาชิกของสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Science: IUSS) ทั่วโลก ประจักษ์ถึงพระราชวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการบริหารทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน
โดยทรงให้ความสำคัญกับทรัพยากรดิน ทรงเป็นผู้นำและปฏิบัติด้วยพระองค์เอง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขดินปัญหา การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน ตลอดระยะเวลาหลายสิบปี รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย และทุกโครงการประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง นำความผาสุกมาสู่ปวงชนชาวไทย และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดินและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ นอกจากนี้ ผลสำเร็จจากการบริหารจัดการดินอย่างต่อเนื่องของพระองค์ ยังเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในและนานาประเทศ
– ที่ประชุม World Congress of Soil Science ครั้งที่ 19 ที่เครือรัฐออสเตรเลีย มีมติเห็นสมควรขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Soil Scientist) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน และกราบบังคมทูลเชิญให้ดำรงตำแหน่ง A life membership

เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2555 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สตีเฟน นอร์ทคลิฟฟ์ กรรมการบริหารและอดีตเลขาธิการ IUSS พร้อมคณะผู้บริหาร IUSS เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Soil Scientist) เป็นพระองค์แรกของโลก

โดยรางวัลประกอบด้วย เหรียญรางวัลที่ด้านหนึ่งมีตราสัญลักษณ์และชื่อของ IUSS ส่วนอีกด้านจารึกพระปรมาภิไธย และข้อความสดุดีพระเกียรติคุณ พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ
– วันดินโลก (World Soil Day) เกิดขึ้นเนื่องจาก IUSS เห็นว่าการถ่ายทอดความรู้ทางด้านดินและการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของดินต่อมนุษยชาติและสภาพแวดล้อมให้แก่ประชาชนในประเทศต่างๆ ยังไม่เพียงพอ จึงควรมีวันดินโลก เพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมรณรงค์ และเผยแพร่ความรู้เรื่องดินพร้อมกันทั่วโลกได้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

ทั้งนี้ คณะกรรมการ IUSS มีความเห็นพ้องกันว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกษัตริย์ที่ให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงทรัพยากรดิน และทรงประสบความสำเร็จในการปรับปรุงแก้ไขและการอนุรักษ์ทรัพยากรดินจนเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน
จึงมีมติให้วันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลฯ เป็นวันดินโลก เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณของพระองค์
ดังนั้น ในวันที่ 16 เมษายน 2555 หลังจากที่ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล “นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” แล้ว ผู้บริหาร IUSS ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันดินโลก
– องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประกาศสนับสนุนและผลักดันให้มีการจัดตั้งวันดินโลก ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม และได้จัดงานเฉลิมฉลองวันดินโลก ณ สำนักงานใหญ่ FAO กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในวันที่ 5 ธันวาคม 2556 และเชิญประเทศไทยร่วมจัดนิทรรศการพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ ด้านทรัพยากรดิน และเชิญผู้บริหารและนักวิทยาศาสตร์ทางดินจากประเทศไทยเข้าร่วมบรรยายพิเศษและร่วมงานเฉลิมฉลองด้วย
ครับ…ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ไปที่กรมพัฒนาที่ดินได้เลย อยู่ถนนพหลโยธิน ละแวกมหาวิทยาลัยเกษตรฯ
และเมื่อ 2 ธ.ค.2557 มีประกาศ “สำนักพระราชวัง” ออกมาฉบับหนึ่ง เกี่ยวกับวันดินโลกและปีดินสากล ความตอนหนึ่งว่า
ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จแทนพระองค์ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ไปทรงร่วมงานเฉลิมฉลองวันดินโลกและเริ่มการจัดงานเฉลิมฉลองปีดินสากล ปี 2558 อย่างเป็นทางการ
และเชิญพระราชดำรัสหัวข้อ “Healthy Soil for a Healthy Life” ไปพระราชทานในงานเฉลิมฉลองดังกล่าว ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในวันศุกร์ที่ 5ธันวาคม พุทธศักราช 2557
ซึ่งที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติมีมติรับรองให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของในหลวง รัชกาลที่ 9 เป็นวันดินโลก และ ปี 2558 เป็นปีดินสากล เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ ในพระปรีชาสามารถด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรดิน

5 ธันวาคมของทุกปี นอกจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ แล้ว
ยังเป็น “วันดินโลก” ด้วยครับ
ก็สมดังพระนาม “ภูมิพลอดุลยเดช” ดังที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เคยมีรับสั่งกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงความหมายของพระนาม “ภูมิพล” ไว้ว่า
“อันที่จริง เธอก็ชื่อภูมิพล ที่แปลว่า กำลังของแผ่นดิน”
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ทรงเล่าถึง การตั้งพระนามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ในหนังสือ "เจ้านายเล็ก ๆ ยุวกษัตริย์" ว่า "หลังจากที่พระโอรสประสูติได้ไม่ถึง ๓ ชั่วโมง ทูลหม่อมฯ"
ทรงรีบส่งโทรเลขถวายสมเด็จพระพันวัสสาฯ ว่า "ลูกชายเกิดเช้าวันนี้ สบายดีทั้งสอง ขอพระราชทานนามทางโทรเลขด้วย"
สมเด็จพระศรีสวรินทรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จฯ ไปเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามว่า "ภูมิพลอดุลเดช" (โปรดสังเกตว่า สะกดแบบไม่มี "ย")
หลังจากนั้นสมเด็จพระพันวัสสาฯ จึงมีลายพระหัตถ์ ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ถึงหม่อมเจ้าดำรัสดำรงค์ อดีตอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน ซึ่งทรงย้่ายกลับมากรุงเทพฯ แล้ว เพื่อทรงแจ้งเรื่องพระนามที่พระราชทาน โดยทรงแนบลายพระราชหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไปให้ด้วย และทรงขอให้ส่งโทรเลขตอบกลับไป
"โทรเลขภาษาอังกฤษที่หม่อมเจ้าดำรัศฯ ทรงส่งไปคือ "Your son's name is Bhumibala Aduladeja" แม่บอกว่า เมื่อได้รับโทรเลขฉบับนี้แล้ว ไม่ทราบว่า ลูกชื่ออะไรกันแน่ในภาษาไทย คิดว่าชื่อ "ภูมิบาล"
ด้วยเหตุนี้เองจึงทรงสะกดพระนามของพระโอรสในสูติบัตรว่า Bhumibal Aduldej Songkla หรืออ่านเป็นภาษาไทยตามที่ทรงเข้าใจในขณะนั้นได้ว่า "ภูมิบาลอดุลเดช สงขลา" ส่วนพระอิสริยยศเมื่อเสด็จพระราชสมภพ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
สำหรับคำว่า "อดุลเดช" นั้นเป็นการสะกดเหมือนกับพระนามของพระบิดาซึ่งสะกดแบบไม่มี "ย" มาแต่ต้น คือ มหิดลอดุลเดชฯ แต่ต่อมามีการเขียนแบบ "อดุลยเดช" ด้วย ในที่สุดจึงนิยมใช้แบบ "อดุลยเดช" ทั้งสองพระองค์
นอกจากนี้จะสังเกตได้ว่า พระนามของสมเด็จพระเชษฐภคินี สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับการตั้งให้มีความคล้องจองกัน คือ กัลยาณิวัฒนา อานันทมหิดล ภูมิพลอดุลเดช จะต่างกันตรงที่ ผู้พระราชทานพระนามสมเด็จพระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เคยมีรับสั่งกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงความหมายของพระนาม "ภูมิพล" ไว้ว่า "อันที่จริงเธอก็ชื่อภูมิพล ที่แปลว่า กำลังของแผ่นดิน แม่อยากเธออยู่กับดิน"
ต่อมาภายหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีพระราชปรารภถึงสิ่งที่สมเด็จพระบรมราชชนนนีเคยรับสั่งว่า "เมื่อฟังคำพูดนี้แล้วก็กลับมาคิด ซึ่งแม่ก็คงจะสอนเรา และมีจุดมุ่งหมายว่า อยากให้เราติดดินและอยากให้ทำงานให้ทำงานแก่ประชาชน"
....จากนิตยสาร "สารคดี" ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๗๔ เดือนธันวาคม ๒๕๕๐ หน้า ๘๐
๕ ธันวา ..วันดินโลก ปีดินสากล
ยิ่งกว่านั้น ยังประกาศให้ ปี 2558 เป็น “ปีดินสากล” หรือ International Year of Soils
– การประชุมสภาโลกแห่งปฐพีวิทยา (World Congress of Soil Science) ครั้งที่ 17 ที่กรุงเทพฯ ในเดือนสิงหาคมปี 2545 มีการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ทำให้สมาชิกของสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Science: IUSS) ทั่วโลก ประจักษ์ถึงพระราชวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการบริหารทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน
โดยทรงให้ความสำคัญกับทรัพยากรดิน ทรงเป็นผู้นำและปฏิบัติด้วยพระองค์เอง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขดินปัญหา การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน ตลอดระยะเวลาหลายสิบปี รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย และทุกโครงการประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง นำความผาสุกมาสู่ปวงชนชาวไทย และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดินและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ นอกจากนี้ ผลสำเร็จจากการบริหารจัดการดินอย่างต่อเนื่องของพระองค์ ยังเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในและนานาประเทศ
– ที่ประชุม World Congress of Soil Science ครั้งที่ 19 ที่เครือรัฐออสเตรเลีย มีมติเห็นสมควรขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Soil Scientist) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน และกราบบังคมทูลเชิญให้ดำรงตำแหน่ง A life membership

เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2555 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สตีเฟน นอร์ทคลิฟฟ์ กรรมการบริหารและอดีตเลขาธิการ IUSS พร้อมคณะผู้บริหาร IUSS เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Soil Scientist) เป็นพระองค์แรกของโลก

โดยรางวัลประกอบด้วย เหรียญรางวัลที่ด้านหนึ่งมีตราสัญลักษณ์และชื่อของ IUSS ส่วนอีกด้านจารึกพระปรมาภิไธย และข้อความสดุดีพระเกียรติคุณ พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ
– วันดินโลก (World Soil Day) เกิดขึ้นเนื่องจาก IUSS เห็นว่าการถ่ายทอดความรู้ทางด้านดินและการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของดินต่อมนุษยชาติและสภาพแวดล้อมให้แก่ประชาชนในประเทศต่างๆ ยังไม่เพียงพอ จึงควรมีวันดินโลก เพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมรณรงค์ และเผยแพร่ความรู้เรื่องดินพร้อมกันทั่วโลกได้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

ทั้งนี้ คณะกรรมการ IUSS มีความเห็นพ้องกันว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกษัตริย์ที่ให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงทรัพยากรดิน และทรงประสบความสำเร็จในการปรับปรุงแก้ไขและการอนุรักษ์ทรัพยากรดินจนเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน
จึงมีมติให้วันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลฯ เป็นวันดินโลก เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณของพระองค์
ดังนั้น ในวันที่ 16 เมษายน 2555 หลังจากที่ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล “นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” แล้ว ผู้บริหาร IUSS ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันดินโลก
– องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประกาศสนับสนุนและผลักดันให้มีการจัดตั้งวันดินโลก ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม และได้จัดงานเฉลิมฉลองวันดินโลก ณ สำนักงานใหญ่ FAO กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในวันที่ 5 ธันวาคม 2556 และเชิญประเทศไทยร่วมจัดนิทรรศการพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ ด้านทรัพยากรดิน และเชิญผู้บริหารและนักวิทยาศาสตร์ทางดินจากประเทศไทยเข้าร่วมบรรยายพิเศษและร่วมงานเฉลิมฉลองด้วย
ครับ…ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ไปที่กรมพัฒนาที่ดินได้เลย อยู่ถนนพหลโยธิน ละแวกมหาวิทยาลัยเกษตรฯ
และเมื่อ 2 ธ.ค.2557 มีประกาศ “สำนักพระราชวัง” ออกมาฉบับหนึ่ง เกี่ยวกับวันดินโลกและปีดินสากล ความตอนหนึ่งว่า
ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จแทนพระองค์ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ไปทรงร่วมงานเฉลิมฉลองวันดินโลกและเริ่มการจัดงานเฉลิมฉลองปีดินสากล ปี 2558 อย่างเป็นทางการ
และเชิญพระราชดำรัสหัวข้อ “Healthy Soil for a Healthy Life” ไปพระราชทานในงานเฉลิมฉลองดังกล่าว ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในวันศุกร์ที่ 5ธันวาคม พุทธศักราช 2557
ซึ่งที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติมีมติรับรองให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของในหลวง รัชกาลที่ 9 เป็นวันดินโลก และ ปี 2558 เป็นปีดินสากล เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ ในพระปรีชาสามารถด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรดิน

5 ธันวาคมของทุกปี นอกจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ แล้ว
ยังเป็น “วันดินโลก” ด้วยครับ
ก็สมดังพระนาม “ภูมิพลอดุลยเดช” ดังที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เคยมีรับสั่งกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงความหมายของพระนาม “ภูมิพล” ไว้ว่า
“อันที่จริง เธอก็ชื่อภูมิพล ที่แปลว่า กำลังของแผ่นดิน”
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)