วันสิ้นปี คือ วันสุดท้ายของปีซึ่งตรงกับวันที่ 31 ธันวาคม ตามปฏิทินเกรกอเรียน ทางการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ คืนวันนี้จะมีการจัดงานนับถอยหลังเพื่อเข้าสู่วันปีใหม่ในเวลาเที่ยงคืนตามเมืองใหญ่ทั่วโลกซึ่งเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน โดยมักมีการจุดพลุเฉลิมฉลอง
วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559
5 ธันวาคม
5 ธันวาคม เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพในหลวง รัชกาลที่9 และเป็นวันดินโลก(World Soil Day)
ที่ประชุมครม. กำหนดให้วันที่ 5 ธ.ค. ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 9
พ.อ.หญิงทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเรื่องวันสำคัญ กำหนดให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยจะมีหนังสืออย่างเป็นทางการออกมาอีกครั้ง ในวันที่ 5 ธันวาคม ยังคงมีกิจกรรมสำคัญของสำนักพระราชวัง มีการบำเพ็ญพระราชกุศลและพระราชทานสมณศักดิ์ของพระภิกษุสงฆ์
-----=====**=====-----
ที่มาของพระนาม "ภูมิพลอดุลยเดช"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมานต์เออเบิร์น (Mount Auburn) ซึ่งขณะนั้นใช้ชื่อว่า โรงพยาบาลเคมบริดจ์ (Cambridge Hospital) ตั้งอยู่ในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อเวลา ๐๘.๔๕ น. ของวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ ตรงกับปีเถาะ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ทรงเล่าถึง การตั้งพระนามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ในหนังสือ "เจ้านายเล็ก ๆ ยุวกษัตริย์" ว่า "หลังจากที่พระโอรสประสูติได้ไม่ถึง ๓ ชั่วโมง ทูลหม่อมฯ"
ทรงรีบส่งโทรเลขถวายสมเด็จพระพันวัสสาฯ ว่า "ลูกชายเกิดเช้าวันนี้ สบายดีทั้งสอง ขอพระราชทานนามทางโทรเลขด้วย"
สมเด็จพระศรีสวรินทรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จฯ ไปเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามว่า "ภูมิพลอดุลเดช" (โปรดสังเกตว่า สะกดแบบไม่มี "ย")
หลังจากนั้นสมเด็จพระพันวัสสาฯ จึงมีลายพระหัตถ์ ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ถึงหม่อมเจ้าดำรัสดำรงค์ อดีตอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน ซึ่งทรงย้่ายกลับมากรุงเทพฯ แล้ว เพื่อทรงแจ้งเรื่องพระนามที่พระราชทาน โดยทรงแนบลายพระราชหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไปให้ด้วย และทรงขอให้ส่งโทรเลขตอบกลับไป
"โทรเลขภาษาอังกฤษที่หม่อมเจ้าดำรัศฯ ทรงส่งไปคือ "Your son's name is Bhumibala Aduladeja" แม่บอกว่า เมื่อได้รับโทรเลขฉบับนี้แล้ว ไม่ทราบว่า ลูกชื่ออะไรกันแน่ในภาษาไทย คิดว่าชื่อ "ภูมิบาล"
ด้วยเหตุนี้เองจึงทรงสะกดพระนามของพระโอรสในสูติบัตรว่า Bhumibal Aduldej Songkla หรืออ่านเป็นภาษาไทยตามที่ทรงเข้าใจในขณะนั้นได้ว่า "ภูมิบาลอดุลเดช สงขลา" ส่วนพระอิสริยยศเมื่อเสด็จพระราชสมภพ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
สำหรับคำว่า "อดุลเดช" นั้นเป็นการสะกดเหมือนกับพระนามของพระบิดาซึ่งสะกดแบบไม่มี "ย" มาแต่ต้น คือ มหิดลอดุลเดชฯ แต่ต่อมามีการเขียนแบบ "อดุลยเดช" ด้วย ในที่สุดจึงนิยมใช้แบบ "อดุลยเดช" ทั้งสองพระองค์
นอกจากนี้จะสังเกตได้ว่า พระนามของสมเด็จพระเชษฐภคินี สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับการตั้งให้มีความคล้องจองกัน คือ กัลยาณิวัฒนา อานันทมหิดล ภูมิพลอดุลเดช จะต่างกันตรงที่ ผู้พระราชทานพระนามสมเด็จพระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เคยมีรับสั่งกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงความหมายของพระนาม "ภูมิพล" ไว้ว่า "อันที่จริงเธอก็ชื่อภูมิพล ที่แปลว่า กำลังของแผ่นดิน แม่อยากเธออยู่กับดิน"
ต่อมาภายหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีพระราชปรารภถึงสิ่งที่สมเด็จพระบรมราชชนนนีเคยรับสั่งว่า "เมื่อฟังคำพูดนี้แล้วก็กลับมาคิด ซึ่งแม่ก็คงจะสอนเรา และมีจุดมุ่งหมายว่า อยากให้เราติดดินและอยากให้ทำงานให้ทำงานแก่ประชาชน"
....จากนิตยสาร "สารคดี" ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๗๔ เดือนธันวาคม ๒๕๕๐ หน้า ๘๐
องค์การสหประชาชาติ เทิดพระเกียรติ กำหนดให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันดินโลก” (World Soil Day)
ยิ่งกว่านั้น ยังประกาศให้ ปี 2558 เป็น “ปีดินสากล” หรือ International Year of Soils
– การประชุมสภาโลกแห่งปฐพีวิทยา (World Congress of Soil Science) ครั้งที่ 17 ที่กรุงเทพฯ ในเดือนสิงหาคมปี 2545 มีการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ทำให้สมาชิกของสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Science: IUSS) ทั่วโลก ประจักษ์ถึงพระราชวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการบริหารทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน
โดยทรงให้ความสำคัญกับทรัพยากรดิน ทรงเป็นผู้นำและปฏิบัติด้วยพระองค์เอง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขดินปัญหา การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน ตลอดระยะเวลาหลายสิบปี รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย และทุกโครงการประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง นำความผาสุกมาสู่ปวงชนชาวไทย และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดินและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ นอกจากนี้ ผลสำเร็จจากการบริหารจัดการดินอย่างต่อเนื่องของพระองค์ ยังเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในและนานาประเทศ
– ที่ประชุม World Congress of Soil Science ครั้งที่ 19 ที่เครือรัฐออสเตรเลีย มีมติเห็นสมควรขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Soil Scientist) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน และกราบบังคมทูลเชิญให้ดำรงตำแหน่ง A life membership

เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2555 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สตีเฟน นอร์ทคลิฟฟ์ กรรมการบริหารและอดีตเลขาธิการ IUSS พร้อมคณะผู้บริหาร IUSS เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Soil Scientist) เป็นพระองค์แรกของโลก

โดยรางวัลประกอบด้วย เหรียญรางวัลที่ด้านหนึ่งมีตราสัญลักษณ์และชื่อของ IUSS ส่วนอีกด้านจารึกพระปรมาภิไธย และข้อความสดุดีพระเกียรติคุณ พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ
– วันดินโลก (World Soil Day) เกิดขึ้นเนื่องจาก IUSS เห็นว่าการถ่ายทอดความรู้ทางด้านดินและการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของดินต่อมนุษยชาติและสภาพแวดล้อมให้แก่ประชาชนในประเทศต่างๆ ยังไม่เพียงพอ จึงควรมีวันดินโลก เพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมรณรงค์ และเผยแพร่ความรู้เรื่องดินพร้อมกันทั่วโลกได้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

ทั้งนี้ คณะกรรมการ IUSS มีความเห็นพ้องกันว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกษัตริย์ที่ให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงทรัพยากรดิน และทรงประสบความสำเร็จในการปรับปรุงแก้ไขและการอนุรักษ์ทรัพยากรดินจนเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน
จึงมีมติให้วันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลฯ เป็นวันดินโลก เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณของพระองค์
ดังนั้น ในวันที่ 16 เมษายน 2555 หลังจากที่ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล “นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” แล้ว ผู้บริหาร IUSS ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันดินโลก
– องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประกาศสนับสนุนและผลักดันให้มีการจัดตั้งวันดินโลก ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม และได้จัดงานเฉลิมฉลองวันดินโลก ณ สำนักงานใหญ่ FAO กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในวันที่ 5 ธันวาคม 2556 และเชิญประเทศไทยร่วมจัดนิทรรศการพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ ด้านทรัพยากรดิน และเชิญผู้บริหารและนักวิทยาศาสตร์ทางดินจากประเทศไทยเข้าร่วมบรรยายพิเศษและร่วมงานเฉลิมฉลองด้วย
ครับ…ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ไปที่กรมพัฒนาที่ดินได้เลย อยู่ถนนพหลโยธิน ละแวกมหาวิทยาลัยเกษตรฯ
และเมื่อ 2 ธ.ค.2557 มีประกาศ “สำนักพระราชวัง” ออกมาฉบับหนึ่ง เกี่ยวกับวันดินโลกและปีดินสากล ความตอนหนึ่งว่า
ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จแทนพระองค์ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ไปทรงร่วมงานเฉลิมฉลองวันดินโลกและเริ่มการจัดงานเฉลิมฉลองปีดินสากล ปี 2558 อย่างเป็นทางการ
และเชิญพระราชดำรัสหัวข้อ “Healthy Soil for a Healthy Life” ไปพระราชทานในงานเฉลิมฉลองดังกล่าว ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในวันศุกร์ที่ 5ธันวาคม พุทธศักราช 2557
ซึ่งที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติมีมติรับรองให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของในหลวง รัชกาลที่ 9 เป็นวันดินโลก และ ปี 2558 เป็นปีดินสากล เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ ในพระปรีชาสามารถด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรดิน

5 ธันวาคมของทุกปี นอกจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ แล้ว
ยังเป็น “วันดินโลก” ด้วยครับ
ก็สมดังพระนาม “ภูมิพลอดุลยเดช” ดังที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เคยมีรับสั่งกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงความหมายของพระนาม “ภูมิพล” ไว้ว่า
“อันที่จริง เธอก็ชื่อภูมิพล ที่แปลว่า กำลังของแผ่นดิน”
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ทรงเล่าถึง การตั้งพระนามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ในหนังสือ "เจ้านายเล็ก ๆ ยุวกษัตริย์" ว่า "หลังจากที่พระโอรสประสูติได้ไม่ถึง ๓ ชั่วโมง ทูลหม่อมฯ"
ทรงรีบส่งโทรเลขถวายสมเด็จพระพันวัสสาฯ ว่า "ลูกชายเกิดเช้าวันนี้ สบายดีทั้งสอง ขอพระราชทานนามทางโทรเลขด้วย"
สมเด็จพระศรีสวรินทรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จฯ ไปเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามว่า "ภูมิพลอดุลเดช" (โปรดสังเกตว่า สะกดแบบไม่มี "ย")
หลังจากนั้นสมเด็จพระพันวัสสาฯ จึงมีลายพระหัตถ์ ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ถึงหม่อมเจ้าดำรัสดำรงค์ อดีตอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน ซึ่งทรงย้่ายกลับมากรุงเทพฯ แล้ว เพื่อทรงแจ้งเรื่องพระนามที่พระราชทาน โดยทรงแนบลายพระราชหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไปให้ด้วย และทรงขอให้ส่งโทรเลขตอบกลับไป
"โทรเลขภาษาอังกฤษที่หม่อมเจ้าดำรัศฯ ทรงส่งไปคือ "Your son's name is Bhumibala Aduladeja" แม่บอกว่า เมื่อได้รับโทรเลขฉบับนี้แล้ว ไม่ทราบว่า ลูกชื่ออะไรกันแน่ในภาษาไทย คิดว่าชื่อ "ภูมิบาล"
ด้วยเหตุนี้เองจึงทรงสะกดพระนามของพระโอรสในสูติบัตรว่า Bhumibal Aduldej Songkla หรืออ่านเป็นภาษาไทยตามที่ทรงเข้าใจในขณะนั้นได้ว่า "ภูมิบาลอดุลเดช สงขลา" ส่วนพระอิสริยยศเมื่อเสด็จพระราชสมภพ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
สำหรับคำว่า "อดุลเดช" นั้นเป็นการสะกดเหมือนกับพระนามของพระบิดาซึ่งสะกดแบบไม่มี "ย" มาแต่ต้น คือ มหิดลอดุลเดชฯ แต่ต่อมามีการเขียนแบบ "อดุลยเดช" ด้วย ในที่สุดจึงนิยมใช้แบบ "อดุลยเดช" ทั้งสองพระองค์
นอกจากนี้จะสังเกตได้ว่า พระนามของสมเด็จพระเชษฐภคินี สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับการตั้งให้มีความคล้องจองกัน คือ กัลยาณิวัฒนา อานันทมหิดล ภูมิพลอดุลเดช จะต่างกันตรงที่ ผู้พระราชทานพระนามสมเด็จพระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เคยมีรับสั่งกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงความหมายของพระนาม "ภูมิพล" ไว้ว่า "อันที่จริงเธอก็ชื่อภูมิพล ที่แปลว่า กำลังของแผ่นดิน แม่อยากเธออยู่กับดิน"
ต่อมาภายหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีพระราชปรารภถึงสิ่งที่สมเด็จพระบรมราชชนนนีเคยรับสั่งว่า "เมื่อฟังคำพูดนี้แล้วก็กลับมาคิด ซึ่งแม่ก็คงจะสอนเรา และมีจุดมุ่งหมายว่า อยากให้เราติดดินและอยากให้ทำงานให้ทำงานแก่ประชาชน"
....จากนิตยสาร "สารคดี" ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๗๔ เดือนธันวาคม ๒๕๕๐ หน้า ๘๐
๕ ธันวา ..วันดินโลก ปีดินสากล
ยิ่งกว่านั้น ยังประกาศให้ ปี 2558 เป็น “ปีดินสากล” หรือ International Year of Soils
– การประชุมสภาโลกแห่งปฐพีวิทยา (World Congress of Soil Science) ครั้งที่ 17 ที่กรุงเทพฯ ในเดือนสิงหาคมปี 2545 มีการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ทำให้สมาชิกของสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Science: IUSS) ทั่วโลก ประจักษ์ถึงพระราชวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการบริหารทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน
โดยทรงให้ความสำคัญกับทรัพยากรดิน ทรงเป็นผู้นำและปฏิบัติด้วยพระองค์เอง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขดินปัญหา การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน ตลอดระยะเวลาหลายสิบปี รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย และทุกโครงการประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง นำความผาสุกมาสู่ปวงชนชาวไทย และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดินและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ นอกจากนี้ ผลสำเร็จจากการบริหารจัดการดินอย่างต่อเนื่องของพระองค์ ยังเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในและนานาประเทศ
– ที่ประชุม World Congress of Soil Science ครั้งที่ 19 ที่เครือรัฐออสเตรเลีย มีมติเห็นสมควรขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Soil Scientist) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน และกราบบังคมทูลเชิญให้ดำรงตำแหน่ง A life membership

เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2555 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สตีเฟน นอร์ทคลิฟฟ์ กรรมการบริหารและอดีตเลขาธิการ IUSS พร้อมคณะผู้บริหาร IUSS เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Soil Scientist) เป็นพระองค์แรกของโลก

โดยรางวัลประกอบด้วย เหรียญรางวัลที่ด้านหนึ่งมีตราสัญลักษณ์และชื่อของ IUSS ส่วนอีกด้านจารึกพระปรมาภิไธย และข้อความสดุดีพระเกียรติคุณ พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ
– วันดินโลก (World Soil Day) เกิดขึ้นเนื่องจาก IUSS เห็นว่าการถ่ายทอดความรู้ทางด้านดินและการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของดินต่อมนุษยชาติและสภาพแวดล้อมให้แก่ประชาชนในประเทศต่างๆ ยังไม่เพียงพอ จึงควรมีวันดินโลก เพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมรณรงค์ และเผยแพร่ความรู้เรื่องดินพร้อมกันทั่วโลกได้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

ทั้งนี้ คณะกรรมการ IUSS มีความเห็นพ้องกันว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกษัตริย์ที่ให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงทรัพยากรดิน และทรงประสบความสำเร็จในการปรับปรุงแก้ไขและการอนุรักษ์ทรัพยากรดินจนเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน
จึงมีมติให้วันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลฯ เป็นวันดินโลก เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณของพระองค์
ดังนั้น ในวันที่ 16 เมษายน 2555 หลังจากที่ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล “นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” แล้ว ผู้บริหาร IUSS ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันดินโลก
– องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประกาศสนับสนุนและผลักดันให้มีการจัดตั้งวันดินโลก ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม และได้จัดงานเฉลิมฉลองวันดินโลก ณ สำนักงานใหญ่ FAO กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในวันที่ 5 ธันวาคม 2556 และเชิญประเทศไทยร่วมจัดนิทรรศการพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ ด้านทรัพยากรดิน และเชิญผู้บริหารและนักวิทยาศาสตร์ทางดินจากประเทศไทยเข้าร่วมบรรยายพิเศษและร่วมงานเฉลิมฉลองด้วย
ครับ…ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ไปที่กรมพัฒนาที่ดินได้เลย อยู่ถนนพหลโยธิน ละแวกมหาวิทยาลัยเกษตรฯ
และเมื่อ 2 ธ.ค.2557 มีประกาศ “สำนักพระราชวัง” ออกมาฉบับหนึ่ง เกี่ยวกับวันดินโลกและปีดินสากล ความตอนหนึ่งว่า
ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จแทนพระองค์ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ไปทรงร่วมงานเฉลิมฉลองวันดินโลกและเริ่มการจัดงานเฉลิมฉลองปีดินสากล ปี 2558 อย่างเป็นทางการ
และเชิญพระราชดำรัสหัวข้อ “Healthy Soil for a Healthy Life” ไปพระราชทานในงานเฉลิมฉลองดังกล่าว ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในวันศุกร์ที่ 5ธันวาคม พุทธศักราช 2557
ซึ่งที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติมีมติรับรองให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของในหลวง รัชกาลที่ 9 เป็นวันดินโลก และ ปี 2558 เป็นปีดินสากล เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ ในพระปรีชาสามารถด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรดิน

5 ธันวาคมของทุกปี นอกจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ แล้ว
ยังเป็น “วันดินโลก” ด้วยครับ
ก็สมดังพระนาม “ภูมิพลอดุลยเดช” ดังที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เคยมีรับสั่งกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงความหมายของพระนาม “ภูมิพล” ไว้ว่า
“อันที่จริง เธอก็ชื่อภูมิพล ที่แปลว่า กำลังของแผ่นดิน”
วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
พระราชกรณียกิจในหลวง รัชกาลที่ 9 ด้านการแพทย์
พระราชกรณียกิจในหลวง รัชกาลที่ 9 ด้านการแพทย์ |

ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่าง ๆ ทุกครั้ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ที่ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ และล้วนเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด พร้อมด้วยเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ครบครัน พร้อมที่จะให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้ป่วยไข้ได้ทันที นอกจากนั้น ยังมีโครงการทันตกรรมพระราชทาน ซึ่งเป็นพระราชดำริที่ให้ทันตแพทย์อาสาสมัคร ได้เดินทางออกไปช่วยเหลือบำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟัน แก่เด็กนักเรียนและราษฎรที่อาศัยอยู่ในท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากแพทย์ทั่วทุกภาค โดยให้การบริการรักษาโรคฟัน โดยไม่คิดมูลค่าในการแพทย์เคลื่อนที่ สำหรับการเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมวัดทุกแห่ง ซึ่งนับเป็นศูนย์กลางของชุมชนในชนบท โดยจะพระราชทานกล่องยาแก่วัด เพื่อพระภิกษุใช้เมื่อเกิดอาพาธ และเพื่อแจกจ่ายแก่ราษฎรผู้ป่วยเจ็บในหมู่บ้านนั้น ๆ ส่วนในการเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมหน่วยทหาร ตำรวจ และอาสาสมัคร ที่ออกไปตั้งฐานปฏิบัติการในท้องที่ทุรกันดาร ก็จะพระราชทานสิ่งของที่จำเป็นต่าง ๆ รวมทั้งยารักษาโรคสำหรับใช้ในหมู่เจ้าหน้าที่ และใช้ในการรักษาพยาบาล และเพื่อแจกจ่ายแก่ราษฎรในท้องที่ ที่มาขอความช่วยเหลือ อันจะทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปราม และประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติการ ได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทางด้านหน่วยแพทย์หลวงที่จะต้องตามเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ประทับแรมทุกแห่งนั้น จะมีเจ้าหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้มาขอรับการรักษา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ประการใด นอกจากนั้น หน่วยแพทย์หลวงยังจัดเจ้าหน้าที่ออกเดินทาง ไปรักษาราษฎรผู้ป่วยเจ็บ ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกด้วย โดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นผู้แนะนำสถานที่และร่วมเดินทางไปด้วย สำหรับราษฎรผู้เจ็บป่วยรายที่มีอาการหนัก หรือจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจรักษาเพิ่มเติมนั้น ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จพระราชดำเนิน ทำการบันทึกรายชื่อ อาชีพ ที่อยู่ และอาการโดยละเอียด โดยตรวจสอบความถูกต้องกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และมีสำเนาให้รับทราบเพื่อติดต่อประสานงานต่อไป ในการพิจารณาส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อ ตามความเห็นของแพทย์ผู้ทำการตรวจ |
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วันลอยกระทง
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติบางปีเทศกาลลอยกระทงก็จะมาตรงกับเดือนตุลาคมด้วย เช่นปีพ.ศ. 2544วันลอยกระทงปีนั้นตรงกับวันที่31 ตุลาคมและจะมาตรงกันอีกครั้งในปีพ.ศ. 2563 ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป นอกจากนี้บางประเทศก็มีเทศกาลลอยกระทงด้วย เช่น ประเทศลาวมักจะลอยกระทงในวันออกพรรษา(ขึ้น15ค่ำ เดือน11)ในงานไหลเฮือไฟของลาว ประเทศกัมพูชา มีการลอยกระทง 2 ครั้ง คือลอยกระทงของหลวงกลางเดือน 11 ส่วนราษฎรทำกระทงเล็กและบรรจุอาหารไปด้วย ส่วนกลางเดือน 12 จะมีกระทงของหลวงเป็นกระทงใหญ่ ราษฎรจะไม่ได้ทำและกระทงนี้จะมีอาหารบรรจุลงไปด้วย โดยมีคติว่าเพื่อส่งส่วนบุญไปให้เปรต เทศกาลน้ำจะมีการเฉลิมฉลองด้วยการแข่งเรือยาว การแสดงพุลดอกไม้ไฟ จัดขึ้นทุกปีตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ จนถึงแรม 1 ค่ำ เดือนพฤศจิกายน ประเทศเมียนมาร์ ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" ตกแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคา
ประวัติ
ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีโบราณของอินเดียที่ประเทศไทยรับเข้ามาปฏิบัติ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า ทำกันมาตั้งแต่เมื่อไร เท่าที่ปรากฏกล่าวได้ว่ามีมาตั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานว่า เดิมทีเดียวเห็นจะเป็นพิธีของพราหมณ์กระทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหมต่อมาได้ถือตามแนวทางพระพุทธศาสนามีการชักโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทา (แม่น้ำนัมมทา เป็นแม่น้ำที่คู่ขนานกับทิวเขาวินธัย ไหลลงภาคตะวันตกของอินเดียแบ่งเขตอินเดียออกเป็นภาคเหนือและภาคใต้) ตำนานที่หาหลักฐานยืนยันมิได้ กล่าวไว้ว่าในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง มีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป[ต้องการอ้างอิง] ดังปรากฏในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์กล่าวถึงพระดำรัสของพระร่วงว่า "แต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปอดกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1 จากนั้นในสมัยรัชกาลที่2 ได้เปลี่ยนแปลงจากการทำจากดอกบัวเป็นต้นกล้วยเพราะดอกบัวดังกล่าวหายากและมีน้อยจึงใช้ต้นกล้วยทำแทนแล้วดูไม่สวยจึงใช้ใบตองมาพับแต่งจนสวยในที่สุดจนสืบทอดมาจนปัจจุบันนี้
วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ประวิติ ร.9
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระบรมนามาภิไธย : พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช
พระปรมาภิไธย : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร[1]
พระราชอิสริยยศ : พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย
ราชวงศ์ : ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์ : 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
บรมราชาภิเษก : 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493สวรรคต : 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (88 พรรษา) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
รัชกาลก่อนหน้า : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
วัดประจำรัชกาล : วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร : พระพุทธรูปปางอภัยมุทรา พุทธลักษณะสุโขทัย
พระบรมนามาภิไธย : พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช
พระปรมาภิไธย : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร[1]
พระราชอิสริยยศ : พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย
ราชวงศ์ : ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์ : 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
บรมราชาภิเษก : 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493สวรรคต : 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (88 พรรษา) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
รัชกาลก่อนหน้า : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
วัดประจำรัชกาล : วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร : พระพุทธรูปปางอภัยมุทรา พุทธลักษณะสุโขทัย
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ : 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 / เคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา
พระบรมราชชนก : สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
พระบรมราชชนนี : สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระบรมราชินี : สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระราชโอรส/ธิดา
1 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
2 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
3 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
4 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
พระบรมราชชนก : สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
พระบรมราชชนนี : สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระบรมราชินี : สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระราชโอรส/ธิดา
1 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
2 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
3 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
4 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระราชสมภพ: 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470) เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ขณะนี้ จึงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์นานที่สุดในโลกที่มีพระชนมชีพอยู่ และยาวนานที่สุดในประเทศไทย
พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านจากระบอบทหารเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยได้โดยตลอดรอดฝั่งในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2530
และได้ทรงหยุดยั้งการกบฏ เช่น ในคราวปี 2524 และปี 2528 กระนั้น ก็ได้ทรงแต่งตั้งหัวหน้าคณะยึดอำนาจหลายคณะ เช่น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500 กับพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
ในช่วงปลายพุทธทศวรรษที่ 2540 ตลอดรัชสมัยของพระองค์จนถึงปี พ.ศ. 2555 ได้เกิดการรัฐประหารโดยกองทัพมากกว่า 15 ครั้ง รัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ และนายกรัฐมนตรี 28 คน
ประชาชนชาวไทยจำนวนมากเคารพพระองค์ อนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะและผู้ใดจะละเมิดมิได้ ส่วนประมวลกฎหมายอาญาว่า การดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์เป็นความผิดอาญา
คณะรัฐมนตรีหลายชุดที่ได้รับการเลือกตั้งมาก็ถูกคณะทหารล้มล้างไปด้วยข้อกล่าวหาว่านักการเมืองผู้ใหญ่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กระนั้น พระองค์เองได้ตรัสเมื่อปี 2548 ว่า สาธารณชนพึงวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ได้
พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทยเกี่ยวกับพระราชดำริในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โคฟี แอนนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่พระองค์กับทั้งพระองค์ยังทรงเป็นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ งานพระราชนิพนธ์ และงานดนตรีจำนวนหนึ่งด้วย
ด้านสินทรัพย์ของพระองค์นิตยสารฟอบส์ประเมินว่า พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รวมถึงสินทรัพย์ที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จัดการอยู่นั้น มีมากกว่าสามหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐทั้งได้จัดอันดับให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชทรัพย์มากที่สุดในโลก 3 ปีติดต่อกันมาจนปัจจุบัน
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นใช้สินทรัพย์เพื่อสวัสดิการสาธารณะ เช่น เพื่อพัฒนาเยาวชน แต่ได้รับการยกเว้นมิต้องจ่ายภาษีและให้เปิดเผยการเงินต่อพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว
ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชก็ได้ทรงอุทิศพระวรกายและพระราชทรัพย์ไปในโครงการพัฒนาประเทศไทยหลายต่อหลายโครงการ โดยเฉพาะในทางเกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข การส่งเสริมอาชีพ ทรัพยากรน้ำ สวัสดิการทางคมนาคม และสวัสดิการสาธารณะ อนุสรณ์ถึงพระองค์นั้นพบได้ดาษดื่นในสื่อมวลชนไทย
นับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2552 พระองค์แปรพระราชฐานจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ไป โรงพยาบาลศิริราช อันเนื่องมาจากพระโรคไข้หวัดและพระปัปผาสะอักเสบ
ในเดือนตุลาคม ปีเดียวกันนั้น ข่าวลือว่าพระอาการประชวรทรุดหนักลง ได้ยังให้ตลาดหุ้นไทยร่วงลงอย่างสาหัส พระองค์ทรงหายจากประชวรเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556
พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านจากระบอบทหารเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยได้โดยตลอดรอดฝั่งในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2530
และได้ทรงหยุดยั้งการกบฏ เช่น ในคราวปี 2524 และปี 2528 กระนั้น ก็ได้ทรงแต่งตั้งหัวหน้าคณะยึดอำนาจหลายคณะ เช่น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500 กับพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
ในช่วงปลายพุทธทศวรรษที่ 2540 ตลอดรัชสมัยของพระองค์จนถึงปี พ.ศ. 2555 ได้เกิดการรัฐประหารโดยกองทัพมากกว่า 15 ครั้ง รัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ และนายกรัฐมนตรี 28 คน
ประชาชนชาวไทยจำนวนมากเคารพพระองค์ อนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะและผู้ใดจะละเมิดมิได้ ส่วนประมวลกฎหมายอาญาว่า การดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์เป็นความผิดอาญา
คณะรัฐมนตรีหลายชุดที่ได้รับการเลือกตั้งมาก็ถูกคณะทหารล้มล้างไปด้วยข้อกล่าวหาว่านักการเมืองผู้ใหญ่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กระนั้น พระองค์เองได้ตรัสเมื่อปี 2548 ว่า สาธารณชนพึงวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ได้
พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทยเกี่ยวกับพระราชดำริในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โคฟี แอนนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่พระองค์กับทั้งพระองค์ยังทรงเป็นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ งานพระราชนิพนธ์ และงานดนตรีจำนวนหนึ่งด้วย
ด้านสินทรัพย์ของพระองค์นิตยสารฟอบส์ประเมินว่า พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รวมถึงสินทรัพย์ที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จัดการอยู่นั้น มีมากกว่าสามหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐทั้งได้จัดอันดับให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชทรัพย์มากที่สุดในโลก 3 ปีติดต่อกันมาจนปัจจุบัน
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นใช้สินทรัพย์เพื่อสวัสดิการสาธารณะ เช่น เพื่อพัฒนาเยาวชน แต่ได้รับการยกเว้นมิต้องจ่ายภาษีและให้เปิดเผยการเงินต่อพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว
ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชก็ได้ทรงอุทิศพระวรกายและพระราชทรัพย์ไปในโครงการพัฒนาประเทศไทยหลายต่อหลายโครงการ โดยเฉพาะในทางเกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข การส่งเสริมอาชีพ ทรัพยากรน้ำ สวัสดิการทางคมนาคม และสวัสดิการสาธารณะ อนุสรณ์ถึงพระองค์นั้นพบได้ดาษดื่นในสื่อมวลชนไทย
นับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2552 พระองค์แปรพระราชฐานจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ไป โรงพยาบาลศิริราช อันเนื่องมาจากพระโรคไข้หวัดและพระปัปผาสะอักเสบ
ในเดือนตุลาคม ปีเดียวกันนั้น ข่าวลือว่าพระอาการประชวรทรุดหนักลง ได้ยังให้ตลาดหุ้นไทยร่วงลงอย่างสาหัส พระองค์ทรงหายจากประชวรเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556



คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนารทนเรนทร และพระยามานวราชเทวี เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะทรงบรรลุนิติภาวะ ทั้งยังทรงมีภารกิจในการศึกษาต่ออีกอย่างหนี้ด้วย ทรงเสด็จกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 และเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์แทนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ เนื่องด้วยทรงคำนึงถึงพระราชภารกิจในการปกครองประเทศเป็นสำคัญ
ระหว่างที่ประทับอยู่ต่างประเทศนั้น ได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิตติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอ-กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 และได้จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสขึ้นในปี พ.ศ. 2493 และสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2489 เป็นพระมหากษัตริย์ไทยผู้เสวยราชย์ยาวนานที่สุด
พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และได้ทรงหยุดยั้งการกบฏ เช่น ในคราวปี 2524 และปี 2528 กระนั้น ก็ได้ทรงแต่งตั้งหัวหน้าคณะยึดอำนาจหลายคณะ เช่น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500 กับพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ในช่วงปลายพุทธทศวรรษที่ 2540 ตลอดรัชกาลของพระองค์ เกิดรัฐประหารโดยกองทัพ 13 ครั้ง รัฐธรรมนูญ 19 ฉบับ และนายกรัฐมนตรี 29 คน
ประชาชนชาวไทยจำนวนมากเคารพพระองค์ อนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะและผู้ใดจะละเมิดมิได้ ส่วนประมวลกฎหมายอาญาว่า การดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์เป็นความผิดอาญาคณะรัฐมนตรีหลายชุดที่ได้รับการเลือกตั้งมาก็ถูกคณะทหารล้มล้างไปด้วยข้อกล่าวหาว่านักการเมืองผู้ใหญ่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กระนั้น พระองค์เองได้ตรัสเมื่อปี 2548 ว่า สาธารณชนพึงวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ได้
พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทยเกี่ยวกับพระราชดำริในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โคฟี แอนนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้าน
นับแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 พระองค์เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับรักษาพระอาการพระโรคไข้หวัดและพระปัปผาสะอักเสบ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ตลอดมา แต่พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15:52 น. สิริพระชนมายุ88 ปี 313 วัน
วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559
คำอวยพร
คำอวยพรวันเกิด
วันนี้ Sanook! Campus เราได้รวบรวม คำอวยพรวันเกิด ข้อความอวยพรวันเกิด ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ พร้อมทั้งคำอวยพรวันเกิดกวนๆ โดนๆ มาไว้ให้ทุกท่านได้นำไปอวยพร คนสนิท เพื่อน พ่อ แม่ พี่น้อง และครอบครัว ไปดูกันสิว่าจะมีคำอวยพรแบบไหนโดนใจคุณบ้าง

อวยพรวันเกิดผู้ใหญ่
เริ่มต้นที่การอวยพรวันเกิดให้กับผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส และผู้ที่มีอายุมากกว่า จะต้องใช้คำสุภาพ เรียบง่าย ไม่ยาวมากเกินไป แสดงถึงความเคารพที่เรามีต่อท่าน ดังนั้นคำอวยพรวันเกิดสำหรับผู้ใหญ่นั้นจึงเป็นข้อความที่เรียบๆ และค่อนข้างเป็นทางการ
สุขสันต์วันเกิดนะครับ/ค่ะ ขอให้มีสุขภาพแข็งแรงเสมอ มีความสุขในชีวิตนะครับ/ค่ะ
สุขสันต์วันเกิดนะครับ/ค่ะ ขอให้มีสุขภาพแข็งแรงเสมอ มีความสุขในชีวิตนะครับ/ค่ะ
สุขสันต์วันเกิดนะครับ/ค่ะ ขอให้มีอายุที่ยืนยาวอยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของหลานๆ นะครับ/ค่ะ
สุขสันต์วันเกิด ขอให้อายุมั่นขวัญยืนแก่ลูกหลาน
สุขสันต์วันเกิดครับคุณพ่อ ขอพรอันยิ่งใหญ่ จงบันดาลให้คุณพ่อมีความสุขมากๆ นะค่ะ
สุขสันต์วันเกิดค่ะคุณแม่ หนูขอให้แม่มีความสุขมากๆ หนูจะเป็นลูกที่ดีของแม่ตลอดไปค่ะ
ครบรอบวันสุดมงคลอีกแล้ว กับวันดีวันนี้ สุขสันต์วันเกิดครับท่าน
วันเกิดของท่านวันนี้ ขอคุณพระศรีรัตนตรัย จงบันดาลพรให้ท่านมีความสุขตลอดไป
ขอให้มีสิ่งดีดีเข้ามาอย่างเป้าหมาย โปรดอย่าได้มีเรื่องร้ายเข้ามาหาท่านเลย
ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จงอวยชัยให้ท่านมีความสุขในวันเกิดและตลอดไปด้วยเถิด

อวยพรวันเกิดเพื่อน
คำอวยพรเนื่องในวันเกิดสำหรับอวยพรให้กับเพื่อน คำอวยพรเหล่านี้จะใช้อย่างไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสนิทของแต่ละบุคคล และแน่นอนว่าแค่ "สุขสันต์วันเกิด" หรือ "HBD" อย่างเดียวคงไม่พอ ควรจะมีข้อความต่อท้าย และข้อความสนับสนุนเพื่อแสดงถึงความสนิทของเพื่อน ที่เคยผ่านประสบการณ์ต่างๆมาด้วยกัน
ขอให้เพื่อนมีความสุขมากๆนะ ขอให้สุขสมหวังในสิ่งที่อยากได้นะ สุขสันต์วันเกิดนะ
ขอให้เพื่อนมีความสุขมากๆนะ ขอให้สุขสมหวังในสิ่งที่อยากได้นะ สุขสันต์วันเกิดนะ
ขอให้รวยๆ เฮงๆ กิจการรุ่งเรือง เป็น แม่เลี้ยง พ่อเลี้ยง ขอให้ได้เป็นเจ้าคนนายคนนะเพื่อนรัก
สุขสันต์วันเกิดนะ ขอให้โชคดีมีชัย คิดสิ่งหนึ่งสิ่งใด ขอให้สมปรารถนา
ขอให้มีความสุขมากๆ สุขสันต์วันเกิดนะเพื่อน ปะ!! วันนี้ฉลองไหนดี
ขอให้เพื่อนมีสุขภาพที่ผ่องใส ขอให้สวยๆหล่อๆ มีเงินใช้ตลอดทั้งปี
แม้ไม่มีของขวัญให้เพื่อน ก็ขอให้เพื่อน มีความสุข ขอให้ได้รับแต่สิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต
hbd รวยๆ เฮงๆ นะเพื่อน
สุขสันต์วันเกิด ขอให้สุขีมั่น เสมอมันเครือใหม่ ความเจ็บอย่าสุได้ ความไข้อย่าสุมี เด้อคุณบ่อยากได้ผัวเฒ่า ให้ฟ้าวซาวฟ้าวหาเด้อหล่า ให้อยู่ดีมีแฮงซวดๆ โลด
HBD นะจร๊ะ ขอให้มีความสุขมากๆ คิดหวังสิ่งใดก็ขอให้สมปรารถนา คิดถึงนะ จุ๊ฟๆๆๆ

อวยพรวันเกิดน้องสาว
หลายคนนักที่จะมีน้องสาว ดังนั้นคำที่ใช้ในการอวยพรวันเกิดน้องสาวนั้น สามารถใช้แสดงความสนิทได้ดีกว่าแบบเพื่อน และเทคนิคสำคัญที่ทำให้คำอวยพรเพื่อน้องสาวนั้นมีพลังก็คือ การใส่ข้อความชมเชยว่า "สวยขึ้น", "ผอมลง" หรือ "น่ารักขึ้น" คำเหล่านี้จะทำให้ผู้หญิงรู้สึกดีใจอย่างยิ่ง ที่ได้รับคำชื่นชมในวันเกิด
น้องสาวจอมยุ่งของพี่ วันนี้วันอะไรจะได้มั๊ยเอ่ย ? ผิดผิดอดกินเค๊กนะเออ !! HBD นะจ๊ะ
น้องสาวจอมยุ่งของพี่ วันนี้วันอะไรจะได้มั๊ยเอ่ย ? ผิดผิดอดกินเค๊กนะเออ !! HBD นะจ๊ะ
วันนี้วันเกิดน้องสาวพี่ สุขสันต์วันเกิดนะจ๊ะ มีความสุขมากๆ ตั้งใจเรียน ได้ทำงานทำการดีดีนะ
Happy Birthday น้องสาวสุดน่ารักของพี่ พี่ขอให้น้องมีความสุข ถึงแม้ปีนี้พี่ไม่ได้ไปหา แต่พี่ฝากใจใส่เค๊กส่งไปให้น้องแล้วนะจ๊ะ
สุขสันต์วันเกิดให้น้องสาวพี่ ขอให้มีคนรักคนชอบเยอะๆ เรียนก็ขอให้ได้เกรดดีดี เป็นสาวสวยน่ารักตลอดไปนะจ๊ะ
โตขึ้นมาอีกปีแล้วน้องสาวเรา ยิ่งโตยิ่งสวยนะ ขอให้น่ารักเหมือนเค้กที่พี่ซื้อมาให้นะ Happy Birthday
Happy Birthday โตเป็นสาวแล้วนะเรา อย่าดื้อ ย่าซน รักษาสุขภาพด้วยนะเด็กน้อยของพี่
สุขสันต์วันเกิดจร้าน้องสาวของพี่ ขอให้มีร่างกายแข็งแรง เป็นที่รักของคนรอบข้าง และสวยวันสวยคืนนะจ๊ะ

คําอวยพรสุขสันต์วันเกิดภาษาอังกฤษ (พร้อมคำแปล)
และหากใครที่มีคนรู้จักเป็นชาวต่างชาติ การอวยพรเป็นภาษาอังกฤษที่สละสลวย ส่งผลดีอย่างมากต่อความรู้สึกที่ได้รับ วันนี้ Sanook! Campus ได้รวบรวมคำอวยพรที่เป็นภาษาอังกฤษพร้อมทั้งคำแปลเป็นภาษาไทยมาให้ทุกท่านได้นำไปใช้
Wishing you many happy returns on your birthday. May you have many more joyous days.
คำแปล : ขออวยพรให้ท่านมีความสุขมากๆ ในวันเกิด และขอให้ท่านมีวันที่ร่าเริงเช่นนี้ต่อไปอีก
....................................
Wishing you special happiness, wonderfully memories and all the best on your Birthday and every day!
คำแปล : ขอให้เธอมีความสุขที่แสนพิเศษ มีความทรงจำอันแสนมหัศจรรย์ และมีแต่สิ่งดีๆที่ดีที่สุดในวันเกิดของเธอ และในทุกๆวันนะ!
....................................
You have brought so much happiness to my life I just want you to know that how special you are to me.
คำแปล : เธอได้นำเอาความสุข อย่างมากมาย มาสู่ชีวิตของฉัน อยากให้เธอได้รับรู้ว่า เธอนั้นมีความหมายแสนพิเศษเพียงใด สำหรับใจฉัน
....................................
Happy Birthday
Thought's of you
keep you close to my heart
I hope you have a great day!
Thought's of you
keep you close to my heart
I hope you have a great day!
คำแปล : สุขสันต์วันเกิด คิดถึงเธอนะ มีเธออยู่เสมอในใจนี้ ขอให้มีวันเกิดที่แสนดีนะจ๊ะ!
วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559
การเตรียมตัวสอบ
10 เคล็ดลับ จำง่าย การอ่านหนังสือสอบ CoolYellLaughing
1. ปิด ทีวี คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต mp3 มีสติอยู่กับหนังสือ
2. นั่งสมาธิสัก 5 นาที
3. อ่านหนึ่งรอบ แล้วสรุป โดยไม่เปิดหนังสือ
4. เช็คคำตอบ
5. อ่านอีกหนึ่งรอบ
6. สรุปใหม่ เปิดหนังสือได้เอาไว้อ่าน
7. ถ้าทำเป็น Mind Mapping จะอ่านง่ายขึ้น
8. มีเอกสารอะไรที่ครูแจก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ
9. ท่องในส่วนที่ครูพูดย้ำบ่อยๆ อย่างน้อย 2 ครั้ง/คาบ
10. ก่อนวันสอบ ห้ามหักโหมอ่านหนังสือถึงเที่ยงคืน เพราะสมองจะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น
2. นั่งสมาธิสัก 5 นาที
3. อ่านหนึ่งรอบ แล้วสรุป โดยไม่เปิดหนังสือ
4. เช็คคำตอบ
5. อ่านอีกหนึ่งรอบ
6. สรุปใหม่ เปิดหนังสือได้เอาไว้อ่าน
7. ถ้าทำเป็น Mind Mapping จะอ่านง่ายขึ้น
8. มีเอกสารอะไรที่ครูแจก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ
9. ท่องในส่วนที่ครูพูดย้ำบ่อยๆ อย่างน้อย 2 ครั้ง/คาบ
10. ก่อนวันสอบ ห้ามหักโหมอ่านหนังสือถึงเที่ยงคืน เพราะสมองจะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น
5 เคล็ดลับการอ่านหนังสือสอบวิธีอ่านหนังสือ แบบว่าอยากสอบผ่าน....
1. คนที่อ่านหนังสือคนเดียวมักจะเสียเปรียบ คนที่อ่านเป็นกลุ่มมักจะได้เปรียบ เนื่องจากอ่านคนเดียวอาจเข้าใจคลาดเคลื่อน หรืออ่านไม่ตรงจุด หรือ(บางคน)อาจอ่านไม่รู้เรื่อง ถ้าอ่านเป็นกลุ่มโอกาสอ่านผิดจุดจะยากขึ้น และยังพอช่วยกันฉุดได้
** แต่วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับคนชอบแชตนะค่ะ อิอิ
2. ควรอ่านเองที่บ้านก่อน 1 รอบ และจับกลุ่มติว เสร็จแล้วกลับไปอ่านทบทวนเองที่บ้านอีก 1 รอบ (ต้องรับผิดชอบตัวเอง)
3. ผลัดกันติว ใครเข้าใจเรื่องใดมากที่สุดก็ให้เป็นผู้ติว ข้อสำคัญ อย่าคิดแต่จะเป็นผู้รับอย่างเดียว จงคิดว่าเป็นผู้ให้ก่อน แล้วคนอื่น (ถ้าไม่แล้งน้ำใจเกินไป) ก็จะให้ตอบเอง
4. ผู้ติวจะได้ทบทวนเนื้อหา และจะรู้ว่าตัวเองขาดอะไร บกพร่องอะไร จากคำถามของเพื่อนที่สงสัย บางครั้งเพื่อนก็สามารถเสริมเติมเต็มในบางจุดที่ผู้ติวขาดหายได้
5. การติวจะทำให้เกิดการ Share ความคิด และฝึกวิธีทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยพัฒนาทั้งด้าน IQ และ EQ (อ่านเองจะพัฒนาแต่ IQ)
ข้อที่ 1. น้องๆต้องใส่ใจเรื่องรายละเอียดเล็กๆน้อยๆก่อนเลยล่ะ ดูซิ!!!ว่าวิชาไหนน่ะที่เราต้องสอบเป็นอันดับแรกๆ หยิบวิชานั้นขึ้นมาก่อนเลย เตรียมไว้นะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับวิชาที่จะสอบ ชีท เอกสารต่างๆ หรือแนวข้อสอบ(อันนี้สำคัญนะค่ะ หาให้เจอล่ะ) ค้นเลยๆ ทุกวิชานะค่ะ
ข้อที่ 2.แยกหมวดหมู่แต่ละวิชา ก่อน-หลัง แล้วหาที่วางไว้อย่างเป็นระเบียบด้วยล่ะ
ข้อที่ 3.เตรียม ดินสอ/ปากกา สมุด และปากกาเน้นข้อความไว้ด้วยนะ
ข้อที่ 4.เริ่มอ่านวิชาที่จะต้องสอบก่อนเป็นวิชาแรกเลยค่ะ ตรงนี้แหละสำคัญมาก น้องๆอย่าอ่านๆๆๆๆๆแล้วก็อ่านเพื่อให้จบ แบบผ่านๆนะค่ะ ต่อให้น้องๆอ่านสัก 10 รอบแล้วบอกคนอื่นๆว่า "ก็เค้าอ่านเป็นสิบๆรอบแล้วอ่ะ แต่ทำไมทำข้อสอบไม่ได้เลยน่ะ?" อ่ะๆๆๆ!!! อ่านสัก 100 รอบก็ไม่ช่วยอะไรหรอกเจ้าค่ะ อ่านแล้วต้องทำความเข้าใจไปด้วย ตรงไหนที่คิดว่าสำคัญๆ น้องๆก็เน้นตรงจุดนั้นไว้ อาจจะใช้วิธีการจดบันทึกไว้ หรือ เน้นข้อความด้วยปากกาสีต่างๆก็ได้ค่ะ เพื่อว่าจะได้กลับมาอ่านอีกครั้ง
ข้อที่ 5.นั้นงัยๆๆๆพี่บอกไปตะกี้เองนะค่ะว่าอย่าอ่านแบบผ่านๆ ดูสิ!!!น้องๆลองกลับไปอ่านข้อ 3 ใหม่สิค่ะ แล้วดูซิว่าที่ต่อจากข้อ 3 นะเป็นข้อที่เท่าไหร่ ข้อที่ 4หายไปๆๆๆๆ ส่วนน้องๆคนไหนสังเกตเห็นก่อนที่พี่เฉลย น้องก็ไม่มีปัญหาในเรื่องของการอ่านหนังสือแล้วละค่ะ เก่งมากๆเลย ส่วนน้องๆคนไหนที่ไม่ทันได้สังเกต ก็เอาจุดนี้เนี่ยแหละค่ะไปลองปรับใช้กับการอ่านหนังสือดูตามที่พี่บอกไว้ในข้อที่ 5 นะค่ะ
ข้อที่ 6.อ่ะ ต่อๆๆ การไม่ปล่อยให้ท้องว่างก็เป็นสิ่งสำคัญนะค่ะ ถ้าน้องๆอ่านๆๆๆหนังสืออย่างเดียวจนลืมทานข้าวแล้วละก็ นอกจากน้องๆ จะอ่านหนังสือไม่รู้เรื่องแล้ว อาจจะทำให้ป่วย และทำให้เป็นโรคกระเพาะได้ด้วยนะจ๊ะ สำคัญเลย ต้องหาอะไรทานเมื่อท้องว่างด้วยน้า...อย่าทรมาณตัวเองละ
ข้อที่ 7.ในการอ่านหนังสือ น้องๆควรเลือกเวลาที่รู้สึกว่าสมองเราพร้อมจะทำงานด้วยนะจ๊ะ แล้วเมื่อน้องๆรู้สึกว่าเริ่มอ่านไม่ไหวแล้วล่ะ อ่านนานมากไปทำให้ปวดตา ปวดหัว ให้น้องๆพักก่อน อาจจะหาอย่างอื่นทำ เช่นพักสายตาโดยการหาเพลงเพราะๆฟัง(อ่ะๆๆๆเลือเพลงที่ฟังแล้วจรรโลงใจด้วยละ ถ้าฟังเพลงที่หนักไป อาจทำให้ยิ่งปวดหัวมากกว่าเดิม ไม่รู้ด้วยนะเจ้าค่ะ) จะดูทีวี เล่นเกม หรือกิจกรรมอื่นๆที่ทำแล้วผ่อนคลายก็หามาลองทำกันดูนะเจ้าค่ะ แต่ๆๆๆๆแล้วก็แต่...อย่าพักจนเพลินละ เมื่อถึงเวลาที่ร่างกายผ่อนคลายเพียงพอแล้วก็กลับเข้าสู่โหมดการอ่านหนังสือต่อเลยยย (เอาน่าๆทนเอาหน่อยนะเจ้าค่ะ สอบไม่ได้มีมาบ่อยๆ ตั้งใจให้สุดๆไปเลย)
ข้อที่ 8.นั้นแน่ๆ พี่รู้นะว่าน้องๆเริ่มใส่ใจในรายละเอียดในการอ่านกันบ้างแล้ว คงคิดใช่มั้ยละ ว่าพี่จะแกล้งทำให้ข้อไหนหายไปอีกน่ะ!!! ดีแล้วค่ะถ้าน้องๆคิดแบบนี้นะ เป็นการฝึกตัวเองไปด้วย ให้เป็นคนรอบคอบ ดีค่ะๆ อ่ะต่อๆ
ข้อที่ 9.อ้า....อ่านไม่ทันแล้วอ่ะ!!!ทำไงดีๆ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับเพื่อนๆคนอื่นๆเกือบทุกคนละค่ะ ที่สำคัญเลย อย่าตื่นเต้นจนรนล่ะ ตั้งสตินะค่ะตรงนี้สำคัญมากๆเลย ให้น้องๆหยุดอ่านหนังสือต่อสักพักนึง แล้วดูซิว่า...พรุ่งนี้เราสอบวิชาอะไรบ้าง แล้วหยิบวิชาที่สอบเป็นวิชาแรกมาอ่านทบทวนก่อนเลย แล้วก็ทบทวนวิชาอื่นๆต่อไป (ตรงถ้าคิดว่ากลัวอ่านไม่ทันรอบทบทวนให้น้องๆอ่านในส่วนที่เน้น ที่สำคัญๆเอาไว้ก่อนเลย จำได้มั้ยเอ๋ยว่าในการอ่านรอบแรกพี่ให้น้องๆจดบันทึกที่สำคัญๆไว้ที่คิดว่าน่าจะออก หรือส่วนที่มันยาก จำไม่ได้ก็นำมาอ่านก่อนเลย ตรงส่วนไหนที่น้องๆจำได้ หรือเข้าใจก็เปิดผ่านๆเลยค่ะ ตอนนี้เราต้องทำเวลาแหละน่ะ)
ข้อที่ 10.เอาละ...อ่านหนังสือสอบก็ต้องฟิสหน่อย น้องๆบางคนอาจจะอ่านหนังสือเร็วและเข้าใจง่ายทำให้การอ่านหนังสือไม่ค่อยมีปัญหาเลยก็ดีไป ส่วนน้องคนไหนเป็นคนที่อ่านหนังสือช้าก็ต้องขยันกว่าคนอื่นๆหน่อยแล้ว อาจจะทำให้อ่านหนังสือไม่ทัน ทำให้ต้องนอนดึกหน่อย ก็อย่าลืมดูแลตัวเองนะค่ะ หานมอุ่นๆหรือของว่างทานสักนิดนึง ใส่ใจในสุขภาพหน่อยนะค่ะ เพราะเดี๋ยวน้องๆอาจป่วยได้ แล้วเป็นงัยน่ะ ไปสอบไม่ได้ แย่เลยน่ะเจ้าค่ะ สำคัญเลย ถ้าอ่านหนังสือไม่ทันแล้วจริงๆ แต่ร่างกายเราไม่ไหวแล้ว อย่าฝืนนะค่ะ ได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น รีบเตรียมตัวเข้านอนกันดีกว่าค่ะ ตื่นเช้ามาจะได้สดชื่น แถมถ้าเราตื่นเร็ว ก็จะมีเวลาอีกนิดในการทบทวนก่อนเข้าห้องสอบนะค่ะน้องๆ
จากพี่ นางฟ้าซาตาน
เทคนิค 6 ข้อ ที่ควรทำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบให้ได้ผล ใน 1 เดือน ซึ่งอาจจะมีข้อสำคัญสำหรับน้องๆ คือ การเลิก Chat ไปสักระยะ (แหม ข้อนี้ทำร้ายจิตใจกันจริงๆ นะคะ) แต่ก็นั่นล่ะค่ะ แชทมากไปก็ไม่ดี น้องๆ ก็รู้อยู่ แชทพอให้หายเครียดก็คงเป็นทางสายกลางที่น่าจะทำนะคะ.. เอ๊า มาดูกัน ว่ามีเทคนิคอะไรน่าสนใจบ้าง
1.ต้องเลิกเที่ยว เลิกดื่ม เลิกสร้างบรรยากาศที่ไม่ใช่การเตรียมสอบ เลิก chat ตอนดึกๆ เลิกเม้าท์โทรศัพท์นานๆ ตัดทุกอย่างออกไป ปลีกวิเวกได้เลย ต้องทำให้ได้ ถ้าไม่ได้อย่าคิดเลยว่าจะสอบติด ฝันไปเถอะ
2.ตัดสินใจให้เด็ดขาด ว่าต่อไปนี้จะทำเพื่ออนาคตตัวเองบอกเพื่อน บอกพ่อแม่ บอกทุกคนว่า อย่ารบกวน ขอเวลาส่วนตัว จะเปลี่ยนชีวิต จะกำหนดชีวิตตัวเอง จะกำหนดอนาคตตัวเอง เพราะเราต้องการมีอนาคตที่กำหนดได้ด้วยตัวเอง ใช่หรือไม่
3.ถ้าทำ 2 ข้อไม่ได้ อย่าทำข้อนี้ เพราะข้อนี้คือ ให้เขียนอนาคตตัวเองไว้เลยว่า จะเรียนต่อคณะอะไร จบแล้วจะเป็นอะไร เช่น จะเรียนพยาบาล ก็เขียนป้ายตัวใหญ่ๆ ติดไว้ข้างห้อง มองเห็นตลอดเลยว่า "เราจะเป็นพยาบาล" จะเรียนแพทย์ก็ต้องเขียนไว้เลยว่า "ปีหน้าจะไปเหยียบแผ่นดินแพทย์ศิริราช-จุฬา" อะไรทำนองนี้ เพื่อสร้างเป้าหมายให้ชัดเจน
4.เตรียมตัว สรรหาหนังสือ หาอาจารย์ติว หาเพื่อนคนเก่งๆ บอกกับเค้าว่าช่วยเป็นกำลังใจให้เราหน่อย ช่วยเหลือเราหน่อย หาหนังสือมาให้ครบทุกเนื้อหาที่จะต้องสอบ เตรียมห้องอ่านหนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ ให้พร้อม
5.เริ่มลงมืออ่านหนังสือ เริ่มจากวิชาที่ชอบ เรื่องที่ถนัดก่อน ทำข้อสอบไปด้วย ทำแบบฝึกหัดจากง่ายไปยาก ค่อยๆ ทำ ถ้าท้อก็ให้ลืมตาดูป้าย ดูรูปอนาคตของตัวเอง ต้องลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่างน้อยวันละ 10 ชั่วโมง แล้วจะทำได้ไง วิธีการคือ อ่านทุกเมื่อที่มีโอกาส อ่านทุกครั้งที่มีโอกาส หนังสือต้องติดตัวตลอดเวลา ว่างเมื่อไรหยิบมาอ่านได้ทันที อย่าปล่อยให้ว่างจนไม่รู้จะทำอะไร ที่สำคัญอ่านแล้วต้องมีโน้ตเสมอ ห้ามนอนอ่าน ห้ามกินขนม ห้ามฟังเพลง ห้ามดูทีวี ห้ามดูละคร ดูหนัง อ่านอย่างเดียว ทำอย่างจริงจัง
6.ข้อนี้สำคัญมาก หากท้อให้มองภาพอนาคตของตัวเองไว้เสมอ ย้ำกับตัวเองว่า "เราต้องกำหนดอนาคตของตัวเอง ไม่มีใคร กำหนดให้เรา เราต้องทำได้ เพราะไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้" ให้กำลังใจกับตัวเองอยู่เสมอ บอกกับตัวเองอย่างนี้ทุกวัน หากท้อ ขอให้นึกว่า อย่างน้อยก็มีผู้เขียนบทความนี้เป็นกำลังใจให้น้องๆ เสมอ นึกถึงภาพวันที่เรารับปริญญา วันที่เราและครอบครัวจะมีความสุข วันที่คุณพ่อคุณแม่จะดีใจที่สุดในชีวิต ต่อไปนี้ต้องทำเพื่อท่านบ้าง อย่าเห็นแก่ตัว อย่าขี้เกียจ อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง เลิกนิสัยเดิมๆ เสียที
เคล็ดลับวิธีทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนได้อย่างแม่นยำ
เคล็ดลับการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนนี้ เป็นเทคนิคง่าย ๆ นักเรียนนักศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกคน ขอแต่เพียงเข้าใจเคล็ดลับวิธีการเท่านั้นเอง หัวใจสำคัญของการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียน คือ การหมั่นฝึกฝนตามขั้นตอนให้เกิดความเคยชินจนติดกลายเป็นนิสัยการอ่านเพื่อทำความเข้าใจนี้จะแตกต่างจากการอ่านเพียงเพื่อท่องจำ
1. เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อย ๆ คือเราจะ หยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว
2. จากนั้นให้ปิดหนังสือ ! แล้วลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟัง คือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเอง ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้ว ให้อ่านต่อไปได้
3. หากตอนใดเราอ่านแล้วแต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง
4. หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้วยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป
5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตร ต่าง ๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
6. การเรียนด้วยวิธีท่องจำโดยปราศจากความเข้าใจ เรียนไปก็ลืมไป สูญเสียเวลา เปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง
7. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ไม่ชัดเจน คลุมเครือ
8. ดังนั้นจึงขอสรุปเทคนิคง่าย ๆ สั้น ๆ ดังต่อไปนี้ :-
3. หากตอนใดเราอ่านแล้วแต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง
4. หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้วยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป
5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตร ต่าง ๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
6. การเรียนด้วยวิธีท่องจำโดยปราศจากความเข้าใจ เรียนไปก็ลืมไป สูญเสียเวลา เปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง
7. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ไม่ชัดเจน คลุมเครือ
8. ดังนั้นจึงขอสรุปเทคนิคง่าย ๆ สั้น ๆ ดังต่อไปนี้ :-
ก.ให้อ่านหนังสือ สลับกับ การอธิบายให้ตัวเองฟัง
ข.ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริง ๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ
ข.ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริง ๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ
อ่านหนังสือด้วยวิธีการนี้จะทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้ทั้งเล่ม ไม่ลืมเลย...สวัสดี
หมายเหตุ * เทคนิคการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนได้อย่างแม่นยำนี้ เป็นเพียงข้อเดียว (อรรถปฏิสัมภิทา) ในธรรมะชุดปฏิสัมภิทา 4 หรือ ธรรมะเพื่อความเลิศทางวิชาการ จาก พระไตรปิฎกมรดกทางปัญญาที่สำคัญที่สุดของคนไทย )
เคล็ดลับ 13 ประการ เพื่อ การเรียน อย่างมี
ประสิทธิภาพ
1. รับผิดชอบ
- รับผิดชอบตนเอง ไม่ยืมจมูกคนอื่นหายใจ เป็นผู้ชนะจากความสามารถของตน
- รับผิดชอบตนเอง ไม่ยืมจมูกคนอื่นหายใจ เป็นผู้ชนะจากความสามารถของตน
2. เริ่มต้นดี - ช่วงเดือนแรกในรั้วมหาวิทยาลัย ถือเป็นช่วงวิกฤตของน้องใหม่ หากเริ่มต้นดี ความสำเร็วจะไม่อยู่ไกลเกินเอื้อม
3. กำหนดเป้าหมายในการเรียนอย่างแน่วแน่ - กำหนดเป้าหมายในการเรียนให้ชัดเจน ทั้งระยะสั้นและระยะยาว และทุ่มเทความพยายามให้บรรลุเป้าหมายนั้น
4. วางแผน และจัดการ
- มีการวางแผน จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมที่ต้องทำ หากทำตารางเวลาเป็นรายสัปดาห์ได้ยิ่งดี
5. มีวินัยต่อตนเอง - เมื่อกำหนดเป้าหมาย วางแผน และจัดการ ตามข้อ 4 และ 5 แล้วต้องสัญญากับตนเองอย่างแน่วแน่ที่จะมีวินัย และปฏิบัติตาม
- มีการวางแผน จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมที่ต้องทำ หากทำตารางเวลาเป็นรายสัปดาห์ได้ยิ่งดี
5. มีวินัยต่อตนเอง - เมื่อกำหนดเป้าหมาย วางแผน และจัดการ ตามข้อ 4 และ 5 แล้วต้องสัญญากับตนเองอย่างแน่วแน่ที่จะมีวินัย และปฏิบัติตาม
6. อย่าล้าสมัย
- วิทยาการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การค้นคว้าหาความรู้ ต้องอิงกับข้อมูลที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์
- วิทยาการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การค้นคว้าหาความรู้ ต้องอิงกับข้อมูลที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์
7. ฝึกฝนตนเองให้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ศึกษาข้อเสนอแนะในคู่มือเล่มนี้ และฝึกทักษะการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ติดตัวตลอดไป
- ศึกษาข้อเสนอแนะในคู่มือเล่มนี้ และฝึกทักษะการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ติดตัวตลอดไป
8. เตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่ชั้นเรียน
- เตรียมตัวเป็นผู้ใฝ่หาความรู้อย่างแข็งขัน หากเป็นไปได้เตรียมอ่านเอกสารที่จะเรียนมาก่อนเข้าห้องเรียน
- เตรียมตัวเป็นผู้ใฝ่หาความรู้อย่างแข็งขัน หากเป็นไปได้เตรียมอ่านเอกสารที่จะเรียนมาก่อนเข้าห้องเรียน
9. มุ่งมั้น จดจ่อต่อบทเรียน
- มีสมาธิ สนใจ ตั้งใจ เวลาอาจารย์สอน ไม่เข้าเรียนเพื่อพูดคุยกัน ซังกะตาม รอเวลาเลิกชั้น
- มีสมาธิ สนใจ ตั้งใจ เวลาอาจารย์สอน ไม่เข้าเรียนเพื่อพูดคุยกัน ซังกะตาม รอเวลาเลิกชั้น
10. เป็นตัวของตัวเอง
- รู้จักคิดและทำ ด้วยความสามารถของตนเองคิดเสมอว่าเราเป็นผู้หนึ่งที่มีศักยภาพสูง
- รู้จักคิดและทำ ด้วยความสามารถของตนเองคิดเสมอว่าเราเป็นผู้หนึ่งที่มีศักยภาพสูง
11. มีความกระตือรือล้น
- ความสำเร็จเป็นของผู้ที่มีความริเริ่ม เป็นฝ่ายรุกที่จะมุ่งหน้า และคว้าความสำเร็จเป็นของตน
- ความสำเร็จเป็นของผู้ที่มีความริเริ่ม เป็นฝ่ายรุกที่จะมุ่งหน้า และคว้าความสำเร็จเป็นของตน
12. มีสุขภาพดี
- อย่าลืมใส่ใจต่อสุขภาพร่างกาย กิจกรรมนันทนาการ และกิจกรรมสังคม วางแผนจัดเวลาต่อสิ่งเหล่านี้ให้พอเหมาะ
- อย่าลืมใส่ใจต่อสุขภาพร่างกาย กิจกรรมนันทนาการ และกิจกรรมสังคม วางแผนจัดเวลาต่อสิ่งเหล่านี้ให้พอเหมาะ
13. เรียนอย่างมีความสุข
- พยายามเก็บเกี่ยวความน่าสนใจในบทเรียน คิดเสมอว่าทุกวิชาน่าเรียนรู้ น่าสนุกทั้งนั้น แล้วท่านจะพบว่า เราก็เรียนอย่างมีความสุขได้
- พยายามเก็บเกี่ยวความน่าสนใจในบทเรียน คิดเสมอว่าทุกวิชาน่าเรียนรู้ น่าสนุกทั้งนั้น แล้วท่านจะพบว่า เราก็เรียนอย่างมีความสุขได้
4 ขั้นตอน การจัดตารางการอ่านหนังสือ
จริงๆ แล้วการอ่านหนังสือตอนที่พี่อ่านเตรียมสอบ ไม่ได้จัดตารางเลยครับ เพราะเคยทำแล้ว ทำไม่ได้ แล้วจะอ่านให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ตอบได้คำเดียวครับ "อ่านเมื่ออยากอ่าน" แต่ต้องไม่ใช่ว่ามีแต่ไม่อยากอ่านนะ ต้องทำให้อยากอ่านบ่อยๆ อยากอ่านมากๆ อยากรู้มากๆ เพื่อให้การอ่านมีประสิทธิภาพครับ อ่านทุกเวลาที่สามารถทำได้นั่นแหละดีที่สุด
เพื่อนพี่เคยติดสูตรไว้ในห้องน้ำ พกสูตรติดตัว พกโน้ตย่อไว้ที่กระเป๋าเสื้อตลอดเวลา บางคนมีหนังสือติดตัวทุกที่ เพื่อให้ อยากอ่านเมื่อไร ก็หยิบขึ้นมาอ่านได้ทันที ไม่ต้องรอเวลา ไม่ต้องจัดตารางเอาละ แล้วถ้าจะจัดตารางเวลาอ่านหนังสือ จะทำยังไงดี พี่ขอว่าเป็นข้อๆ เลยดีกว่าครับ
1. เลือกเวลาที่เหมาะสม
เวลาที่เหมาะสมหมายความว่า เวลาที่น้องต้องการจะอ่าน เวลาที่ว่างจากงานอื่น เวลาที่อยากจะอ่านหนังสือ หรือเป็นเวลาที่อ่านแล้วได้เนื้อหามากที่สุด เข้าใจมากที่สุด เวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่านตอนเช้าตรู่ บางคนชอบอ่านตอนกลางคืนก่อนนอน บางคนชอบอ่านเวลากลางวัน แล้วแต่การจัดสรรเวลาของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน น้องต้องเลือกดูเวลาที่เหมาะสมของตัวเองนะครับ การจัดเวลาต้องให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมงครับ วันนึงถ้าอ่านหนังสือแค่วันละ 2 ชั่วโมงน้อยมาก
เวลาที่เหมาะสมหมายความว่า เวลาที่น้องต้องการจะอ่าน เวลาที่ว่างจากงานอื่น เวลาที่อยากจะอ่านหนังสือ หรือเป็นเวลาที่อ่านแล้วได้เนื้อหามากที่สุด เข้าใจมากที่สุด เวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่านตอนเช้าตรู่ บางคนชอบอ่านตอนกลางคืนก่อนนอน บางคนชอบอ่านเวลากลางวัน แล้วแต่การจัดสรรเวลาของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน น้องต้องเลือกดูเวลาที่เหมาะสมของตัวเองนะครับ การจัดเวลาต้องให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมงครับ วันนึงถ้าอ่านหนังสือแค่วันละ 2 ชั่วโมงน้อยมาก
2. วางลำดับวิชาและเนื้อหาขั้นตอนต่อมา คือ เลือกวิชาที่จะอ่าน มีหลักง่ายๆ คือ เอาวิชาที่ชอบก่อน เพื่อให้เราอ่านได้เยอะๆ และอ่านได้เร็ว ควรเลือกเรื่องที่ชอบอ่านก่อนเป็นอันดับแรก จะได้มีกำลังใจอ่านเนื้อหาอื่นต่อไป ไม่แนะนำวิชาที่ยาก และเนื้อหาที่ไม่ชอบนะครับ เพราะจะทำให้เสียเวลาเปล่า การอ่านหนังสือควรอ่านให้ได้ตามที่เราวางแผนเอาไว้ วิธีการก็คือ List รายการหรือเนื้อหา บทที่จะอ่านให้หมด จากนั้นค่อยเลือกลำดับเนื้อหาว่าจะอ่านเรื่องใดก่อนหลัง แล้วค่อยลงมืออ่าน
3. ลงมือทำ
ยังไง ถ้าไม่มีข้อนี้ก็ไม่มีทางสำเร็จ การลงมือทำคือการลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่าผัดวันประกันพรุ่ง เหมือนกับที่พี่เคยเขียนไว้ว่า อย่าฝากอนาคตของตัวเองไว้กับความขี้เกียจของวันนี้ บางคนลงมือทำ แต่ไม่จริงจัง ก็ไม่ได้นะครับ ขอให้นึกถึงชาวนาแล้วกัน ถ้าลงมือทำนาเริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ แล้วทิ้งค้างไว้แต่ไม่ทำให้สำเร็จ ไม่ดูแลจนกระทั่งเก็บเกี่ยว หรือทิ้งไว้ไม่เก็บเกี่ยว การทำนาก็จะไม่สำเร็จ เราก็จะไม่มีข้าวกิน ดังนั้น ขอให้น้องๆ "ทำอะไร ทำจริง" แล้วกันนะครับ ทำให้ได้จริงๆ
ยังไง ถ้าไม่มีข้อนี้ก็ไม่มีทางสำเร็จ การลงมือทำคือการลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่าผัดวันประกันพรุ่ง เหมือนกับที่พี่เคยเขียนไว้ว่า อย่าฝากอนาคตของตัวเองไว้กับความขี้เกียจของวันนี้ บางคนลงมือทำ แต่ไม่จริงจัง ก็ไม่ได้นะครับ ขอให้นึกถึงชาวนาแล้วกัน ถ้าลงมือทำนาเริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ แล้วทิ้งค้างไว้แต่ไม่ทำให้สำเร็จ ไม่ดูแลจนกระทั่งเก็บเกี่ยว หรือทิ้งไว้ไม่เก็บเกี่ยว การทำนาก็จะไม่สำเร็จ เราก็จะไม่มีข้าวกิน ดังนั้น ขอให้น้องๆ "ทำอะไร ทำจริง" แล้วกันนะครับ ทำให้ได้จริงๆ
4. ตรวจสอบผลงานผลของการอ่าน ดูได้จากว่า ทำข้อสอบได้หรือไม่ ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบได้ ก็แสดงว่าอ่านรู้เรื่อง อ่านเข้าใจ ได้เนื้อหาจริงๆ แต่ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบไม่ได้ ก็ต้องกลับไปทบทวนใหม่ พี่ขอแนะนำว่า อ่านแล้วต้องจดบันทึกไว้ด้วยนะครับ จะได้รู้ว่า เราอ่านไปถึงไหนแล้ว และอ่านไปได้เนื้อหาอะไรบ้าง การจดบันทึก ก็คือการทำโน้ตย่อนั่นแหละ ทำสรุปไว้เลยว่าอ่านอะไรไปแล้วบ้าง เก็บไว้ให้มากที่สุด จะได้เป็นผลงานของตัวเอง เก็บไว้อ่านเมื่อต้องการ เก็บไว้อ่านตอนใกล้สอบ
อยากจะบอกว่าช่วงนี้ยังมีเวลาเพียงพอสำหรับการเริ่มต้นที่ดี ยังไม่สายเกินไปหากคิดจะเริ่มอย่างจริงจัง อย่าอ่านเพียงแค่ได้เปิดหนังสือ อย่าโกหกตัวเองว่าได้อ่านแล้ว อย่าหลอกตัวเอง อย่าหลอกคนอื่น ความรู้ไม่สามารถลอกเลียนแบบกันได้ หลอกคนอื่นอาจหลอกได้ หลอกตัวเองไม่ได้แน่นอน คนที่รู้จักเรามากที่สุดก็คือ ตัวเราเองนี่แหละ ตั้งใจทำ ทำเพื่ออนาคตของตัวเองนะครับ
ขอให้โชคดีประสบความสำเร็จครับ
ฝึกการอ่านหนังสือ อย่างมีประสิทธิภาพ
- การอ่านทีละคำ
- การอ่านออกเสียง
- ปัญหาเกี่ยวกับศัพท์เฉพาะ
- การใช้วิธีเดียวกันตลอดในการอ่านทุกประเภท
- การใช้นิ้วชี้ข้อความตามไปด้วยในขณะอ่าน
- การอ่านซ้ำไปซ้ำมา
- การขาดสมาธิในการอ่าน
- ไม่อ่านทีละคำ
- การอ่านทีละคำทำให้อ่านหนังสือได้ช้า เพราะมุ่งหาความหมายของคำทีละคำ สามารถแก้ไขได้โดยตั้งใจไว้ว่า เมื่ออ่านหนังสือทุกครั้ง จะจับใจความสำคัญของประโยคด้วยการใช้สายตาเพียงครั้งเดียว และได้ความหมายทันที
- ไม่อ่านออกเสียง
- การอ่านหนังสือออกเสียงไปทีละตัว โดยทั่วไปติดมาจากนิสัยการอ่านสมัยชั้นประถม การอ่านออกเสียงไม่ว่าจะมีเสียงออกมาหรือมีเสียงในคอ การอ่านแบบนี้อ่านได้ช้าทั้งสิ้นเพราะมุ่งแต่ออกเสียงตามตัวหนังสือที่ปรากฎ การอ่านได้เร็วสามารถแก้ไขได้โดยพยายามทำให้การมอง เห็นรูปทรง และการประสมคำของตัวหนังสือ สามารถผ่านขั้นตอนการรับรู้ของเราไปสู่สมองได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลาพินิจพิเคราะห์ว่า มันมีเสียงอะไรการแก้ไขให้ใช้นิ้วปิดปากในขณะอ่านตลอดเวลาจะทำให้อ่านได้ดีขึ้น และเมื่อปฏิบัติเช่นนี้จนติดเป็นนิสัยแล้ว จะพบว่าทำให้อ่านได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
- ไม่มีกังวลเกี่ยวกับศัพท์เฉพาะ
- การหยุดและกังวลเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนจะทำให้จังหวะในการอ่านและแนวคิดในการอ่านประโยคนั้นหายไป ดังนั้นแม้ว่าจะไม่รู้ศัพท์บางคำก็สามารถหาความหมายของศัพท์นั้นได้ โดยดูจากข้อความในประโยค ถ้าใช้ความคิดคิดตามตลอดเรื่อง
- ไม่ใช้วิธีเดียวกันตลอดในการอ่านทุกประเภท
- นักศึกษาควรใช้วิธีการอ่านที่แตกต่างกันในแต่ละเรื่องที่อ่าน เช่น อ่านเรื่องเบาสมองก็อ่านเร็วได้ ถ้าอ่านตำราวิชาการต้องใช้ความคิดพิจารณาเนื้อเรื่องก็ใช้เวลาอ่านนานขึ้นนั้นคือผู้อ่านต้องรู้จุดประสงค์ของเรื่องที่จะอ่านด้วย จึงจะได้ประโยชน์ที่แท้จริง
- ไม่ใช้นิ้วชี้ข้อความตามไปด้วยในขณะอ่าน
- จะทำให้อ่านได้ช้าลง การใช้สายตากวาดไปตามบรรทัดจะเร็วกว่าการใช้นิ้วชี้เพราะสายตาเคลื่อนที่เร็วกว่านิ้ว วิธีแก้นิสัยนี้อาจทำได้โดยใช้มือจับหนังสือหรือประสานมือกันไว้ในขณะอ่านหนังสือ
- ไม่อ่านซ้ำไปซ้ำมา
- การอ่านเนื้อเรื่องที่ไม่เข้าใจ เป็นการชี้ให้เห็นว่านักศึกษาไม่มั่นใจที่จะดึงเอาความสำคัญของเนื้อความนั้นออกมาได้ด้วยความสามารถของตนเอง เหตุนี้จึงทำให้อ่านช้าลงเพราะคอยคิดแต่จะกลับไปอ่านใหม่ แทนที่จะอ่านไปทั้งหน้าเพื่อหาแนวคิดใหม่ จงพยายามอ่านครั้งเดียวอย่างตั้งใจความคิดทั้งหลายจะค่อย ๆ มาเอง ไม่ต้องกังวลว่าตนเองอ่านไม่รู้เรื่อง
- มีสมาธิในการอ่าน
- การปล่อยให้ความตั้งใจและความคงที่ของอารมณ์ล่องลอยไปกับความคิดที่สอดแทรกเข้ามาขณะอ่าน จะทำให้ไม่ได้รับความรู้อะไรจากการอ่านเลย นักศึกษาจะต้องพัฒนาความสามารถ โดยฝึกจิตให้แน่วแน่มุ่งความสนใจอยู่ที่หนังสือเพียงอย่างเดียว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)