คริสต์มาส (อังกฤษ: Christmas; อังกฤษเก่า: Crīstesmæsse, หมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์") หรือ วันสมโภชพระคริสตสมภพ (อังกฤษ: Feast of the Nativity) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู[6][7] เป็นวันหยุดทางศาสนาและวัฒนธรรม ประชากรหลายพันล้านคนทั่วโลกจัดการเฉลิมฉลองในวันที่ 25 ธันวาคม วันดังกล่าวเน้นปีพิธีกรรมของคริสต์ศาสนิกชนเป็นสำคัญ วันคริสต์มาสเป็นวันปิดเทศกาลเตรียมการรับเสด็จ (Advent) และวันเริ่มต้นเทศกาลพระคริสตสมภพ (Christmastide) สิบสองวัน[8] คริสต์มาสเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศทั่วโลก และมีผู้ที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนิกชนหันมาเฉลิมฉลองกันมากขึ้น[1][9][10] และเป็นส่วนสำคัญในคริสต์มาสและฤดูวันหยุด
วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557
งานปีใหม่ 2015
วันปีใหม่มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนทุก 4 ปี
ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน
เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน
วันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุกปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกพอดี เรียกว่า วสันตวิษุวัต
แต่ในปี พ.ศ. 2125 วสันตวิษุวัติ กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรโกเรียน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา
วันขึ้นปีใหม่ในปฏิทินอื่น ๆ
สงกรานต์ เดิมกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ คือวันที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ตกประมาณวันที่ 13 หรือ 14 เมษายน แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน
ตรุษไทย เป็นวันที่เริ่มต้นเดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติไทย แต่ยกเลิกลงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และกำหนดให้ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่แทน
ตรุษจีน เป็นวันที่เริ่มต้นเดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติจีน ตกประมาณวันที่ 20 กุมภาพันธ์ถึง 20 มีนาคม
ตรุษญี่ปุ่น เดิมใช้วันเดียวกับตรุษจีน แต่เมื่อ ค.ศ. 1873 ได้รับเอาปฏิทินเกรโกเรียนมาใช้ จึงเปลี่ยนเป็นวันที่ 1 มกราคมแทน
ตรุษญวน เป็นวันที่เริ่มต้นเดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติเวียดนาม ตกประมาณวันที่ 20 มกราคมถึง 20 กุมภาพันธ์
เราะอส์ อัสซะนะฮ์ อัลฮิจญ์ริยะฮ์ เป็นวันที่เริ่มต้นเดือนมุฮัรรอม (เดือน 1) ตามปฏิทินฮิจญ์เราะฮ์ของอิสลาม วันที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับว่ามีคนมองเห็นดวงจันทร์หรือไม่ ตามสถิติเมื่อเทียบกับปฏิทินเกรโกเรียนพบว่าวันนั้นร่นเข้าไปประมาณ 10 วันทุกปี
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)